ประวัติคริสตจักรสามแยก


ข้อมูลพื้นฐานและสภาพปัจจุบัน คริสตจักรสามแยกนครปฐม
        สังกัดคริสตจักรภาคที่ 11 สภาคริสตจักรในประเทศไทย              
สถาปนาเป็นคริสตจักรเมื่อวันที่ 25 มกราคม  ค.ศ. 1970 

 ประวัติความเป็นมาของคริสตจักรสามแยกนครปฐม

            คริสตจักรสามแยกได้ทำการก่อสร้างในปีคริสตศักราช  1968 โดยผู้ปกครองบำรุง อดิพัฒน์     และมร.ยอร์ช เชอรี่โฮม มิชชั่นนารีกับเพื่อนๆซึ่งสังกัดอยู่ในคณะดิไซเปิ้ล   มีความประสงค์ที่จะขยายงานของคณะไปยังหัวเมืองต่างๆในจังหวัดนครปฐม     และจากการสำรวจในจังหวัดนครปฐม           แล้วพบว่า ที่อำเภอกำแพงแสน (ปัจจุบันคืออำเภอดอนตูม) มีความเจริญน้อยกว่าอำเภอต่างๆในจังหวัดนครปฐม  ครั้นในปี ค.ศ.1953  คณะดิไซเปิ้ลได้มีมติให้จัดตั้งโรงเรียนที่ตำบลสามง่าม    เพื่อเป็นแหล่งบริการของชุมชนในด้านความรู้โดยจัดเป็นรูปแบบสหศึกษา ชื่อว่า โรงเรียนสหบำรุงวิทยา     พร้อมกันนั้นยังได้ตั้งคลินิก เพื่อบริการสาธารสุข    โดยการให้การรักษาแก่ชาวตำบลสามง่ามและบริเวณใกล้เคียงในระหว่างที่ทำการสำรวจเพื่อการขยายงานเรื่องศาสนา


บรรดาคณะบุกเบิกได้ตั้งกลุ่มอธิษฐานและมีการนมัสการพระเจ้าเป็นประจำ จนกระทั่งได้ก่อตั้งบ้านพักของของอาจารย์บำรุง อดิพัฒน์ และบ้านพักของหลุยส์ แอลเลน ยูแบงค์ ทั้งยังใช้สถานที่บ้านของอาจารย์บำรุง อดิพัฒน์ เป็นสถานที่นมัสการพระเจ้า  ซึ่งมีผู้ร่วมถึง 8 คนนานๆจึงจะเดินทางไปร่วมนมัสการที่คริสตจักรบำรุงธรรมในตัวจังหวัดเนื่องด้วยการเดินทางในสมัยนั้น มีเพียงเกวียนเฉพาะรถยนต์ส่วนบุคคลเท่านั้น ราวปลายปี ค.ศ.1954 มีนักเรียนหญิง 2 คน ตัดสินใจรับบัพติศมา เชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์เจ้าซึ่งจะต้องเดินทางไปทำพิธีรับบัพติศมาในตัวจังหวัดคือคริสตจักรบำรุงธรรม  นับได้ว่าเป็นผลแรกของการเผยแพร่พระกิตติคุณของพระเยซูแก่ตำบลสามง่าม และบริเวณใกล้เคียง ทำให้แต่ละปีมีผู้เชื่อเพิ่มขึ้น และรับบัพติสมาเพิ่มเป็นลำดับ เช่นปี ค.ศ.1955 รับบัพติศมา 12 คน ในจำนวนนี้ซึ่งมีอนุชนคนหนึ่งที่ได้เป็นบุคคลสำคัญของสภาคริสตจักรในประเทศไทย คือศาสนาจารย์อรุณ  ทองดอนเหมือนปี ค.ศ.1956 มีผู้รับบัพติศมาถึง 10 คนปี 1958 มีผู้รับบัพติศมาถึง 10 คน  ปี ค.ศ.1959 มีผู้รับบัพติศมา 35 คน  เมื่อจำนวนสมาชิกในกลุ่มอธิษฐานเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดปัญหาด้านสถานที่ เพราะมีความคับแคบเกินไป จึงย้ายสถานนมัสการไปอยู่ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ในปี ค.ศ. 1957   มีการจัดรูปแบบการเรียนพระคัมภีร์ในรูปแบบของการเรียนรวีวารศึกษาดังปัจจุบัน อย่างไรก็ตามนับได้ว่าเป็นก้าวแรกของการจัดชั้นเรียนรวีฯซึ่งมี
 อาจารย์บำรุง  อดิพัฒน์ และภรรยาทำหน้าที่เป็นครูสอนอบรมตามหลักของคริสต์ศาสนาตลอดจนถึงปี ค.ศ.1958 นายแพทย์เชนชี่.เต. นายแพทย์จากโรงพยาบาลมิชชั่นนครปฐม ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลกรุงเทพนครปฐม ประธานคริสตจักรภาคที่ 11 นครปฐม  เดินทางสถาปนากลุ่มคริสตเตียน สามแยกเป็นคริสตจักร ซึ่งยังคงใช้ห้องเรียนเป็นสถานนมัสการอยู่  ปี ค.ศ.1960 โรงเรียนได้จัดสร้างอาคารโรงอาหารขึ้น คริสตจักรจึงได้ย้ายมาใช้โรงอาหารเป็นที่นมัสการพระเจ้า พร้อมสร้างบ่อศีลรับบัพติศมาด้วย และยังได้ครอบครัว คาร์สัน  มิชชั่นนารีมาประจำคริสตจักร นอกจากนี้ยังมีเพื่อนร่วมงานจากนครปฐมมาช่วยในด้านการเรียนการสอนในด้านคริสตจักร เช่นศาสนาจารย์โฮเว่น เอสโดเยน วีวีน่า ชาวฟิลิปปินส์ ครูทะนง  อาจหาญ ครูจินดา ตู้จินดา อาจารย์ฉลาดอิงคเมธกูล และครูประกาศอื่นๆปี ค.ศ.1964  หลังจากครอบครัวคาร์สันเดินทางกลับไปแล้ว คณะดิไซเปิ้ล จึงส่งครอบครัวยูแบงค์ มาประจำที่คริสตจักรสามแยก

ทำหน้าที่ในการประกาศพระกิตติคุณเรื่องราวของพระเยซูคริสต์ และสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน 4 ปีต่อมาขณะที่มีการฟื้นฟูประจำปีอยู่นั้นมร.พอร์เตอร์  เพื่อนของศาสนจารย์หลุยห์อแลแลน ยูแบงค์ ซึ่งเดินทางมาเยี่ยม ครอบครัวยูแบงค์ ได้เห็นการนมัสการของคริสตจักร สมาชิกคริสตจักรในบริเวณโรงอาหารของโรงเรียนจึงได้เสนอที่จะสร้างอาคารคริสตจักรขึ้น เป็นสถานที่นมัสการถาวรและมั่นคง  รูปแบบของตัวอาคารคริสตจักรนั้นพยายามปรับให้เข้ากับประเพณีและวัฒนธรรมไทยที่งดงามคือ การพนมมือไหว้ จากนั้นก็ให้บริษัทหลุยส์ เบอร์เจอร์ เขียนแบบและการแก้ไขจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงเริ่มสร้างอาคารคริสตจักรในปี ค.ส. 1968 จนแล้วเสร็จ ในปี ค.ศ.1970 รวมระยะเวลา 1 ปี กับ 3เดือนเศษ  งบประมาณในการก่อสร้างเป็นเงิน 600,000 บาท (หกแสนบาทถ้วน) ในการก่อสร้างครั้งนี้ได้รับการช่วยเหลือจากบุคคลหลายฝ่าย อาทิ      บริษัทหลุยห์ เบอร์เจอร์ มร.ลอฟท์ ไคเซอร์
สถาปนิกคุณดำรง จ่างตระกูล และลูกๆ และที่สำคัญมร.พอร์ทเตอร์ทำให้คริสตเตียนชาว สามง่ามได้อาคารคริสตจักรหลังใหม่ในรูปทรงพนมมือที่สวยงามมาจนถึงปัจจุบันนี้